Hand Drawn Pastel Rainbow Circle Dots Border Frame
Hand Drawn Pastel Rainbow Circle Dots Border Frame
Hand Drawn Pastel Rainbow Circle Dots Border Frame

#วันนี้ในอดีต #4เมษายน #วันหนังไทย #วันภาพยนตร์แห่งชาติ #สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระราชทานวันหนังไทย เพื่อให้ความสำคัญและตระหนักถึงคุณค่าอุตสาหกรรม #ภาพยนตร์ไทย

วันภาพยนตร์แห่งชาติ หรือ วันหนังไทย ตรงกับวันที่ 4 เมษายน ของทุกปี โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานให้วันนี้เป็น วันภาพยนตร์แห่งชาติ โดยแต่เดิมสมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ นอกจากจะได้มีการจัดการประกวดประกาศผลภาพยนตร์แห่งชาติแล้ว ยังได้จัดกิจกรรมพิเศษเพื่อหนังไทยขึ้นมาอีกงานควบคู่กันไป ในวันที่ 4 เมษายน แต่ต่อมาสมาพันธ์ภาพยนตร์ได้โยกย้ายการประกาศผลภาพยนตร์มาอยู่ในช่วงเดือนมกราคม ทำให้ลดความสำคัญของวันหนังไทยลงไปประมาณนึง (เพราะไม่มีการจัดงานและประกาศผล)

#ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรก คือเรื่อง นางสาวสุวรรณ ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยจารึกไว้ว่า #นางสาวสุวรรณ เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6

นางสาวสุวรรณ เป็นภาพยนตร์ใบ้ แนวรักใคร่ ขนาดสามสิบห้ามิลลิเมตร ความยาวแปดม้วน เขียนบทและกำกับโดย เฮนรี แม็กเร เป็นเรื่องแรกที่ถ่ายทำในประเทศสยาม โดยฮอลลีวูด ที่ใช้นักแสดงชาวสยามทั้งหมด เริ่มถ่ายทำเมื่อต้นเดือนมีนาคมและสร้างเสร็จเมื่อเดือนมิถุนายน ในปี พ.ศ. 2465 ฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2466 แต่แม้จะเป็นหนังไทย แสดงโดยคนไทยทั้งหมด ถ่ายทำในประเทศไทย ล้างฟิล์ม ตัดต่อ พิมพ์ฟิล์มในเมืองไทย แต่ผู้สร้างกลับเป็นบริษัทยูนิเวอร์แซลแห่งฮอลลีวูด โดยผู้กำกับ: Henry MacRaeซึ่งใช้ทีมงานอเมริกันทั้งหมด

ภาพยนตร์ไทยมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกถ่ายทำในเมืองไทย คือ เรื่อง นางสาวสุวรรณ ผู้สร้าง คือ บริษัทภาพยนตร์ ยูนิเวอร์ซัล ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ผู้แสดงทั้งหมดเป็นคนไทย พ.ศ. 2470 ภาพยนตร์เรื่อง โชคสองชั้น เป็นภาพยนตร์ขนาด 35 มิลลิเมตร ขาว-ดำ ไม่มีเสียง ได้รับการยอมรับให้เป็นภาพยนตร์ประเภทเรื่องแสดงเพื่อการค้าเรื่องแรกที่สร้างโดยคนไทย ในช่วงหลัง พ.ศ. 2490 ถือเป็นช่วงยุคเฟื่องฟูของภาพยนตร์ไทย สตูดิโอถ่ายทำและภาพยนตร์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น หลังจากนั้นประเทศไทยเข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถือเป็นช่วงซบเซาของภาพยนตร์ไทย เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง กิจการภาพยนตร์ในประเทศไทยค่อย ๆ ฟื้นคืนกลับมา ได้เปลี่ยนไปสร้างเป็นภาพยนตร์ขนาด 16 มิลลิเมตรแทน และเมื่อบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะคับขัน ภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องได้แสดงบทบาทของตนในฐานะกระจกสะท้อนปัญหาการเมือง และสังคม ในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2516-2529 ต่อมาภาพยนตร์ไทยในช่วงปี พ.ศ. 2530-2539 โดยในตอนต้นทศวรรษวัยรุ่นเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ นอกจากภาพยนตร์ประเภทวัยรุ่นแล้ว หนังผี และหนังบู๊ รวมทั้งหนังโป๊ และหนังเกรดบี ก็มีการผลิตมามากขึ้น วงการหนังก็ได้มีการพัฒนาภาพยนตร์ออกมาเรื่อยๆ จนทำให้เกิดเป็นอุสาหกรรมภาพยนตร์ไทย มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งก็ได้มีงานประกาศรางวัลภาพยนตร์ไทย ที่ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน จัดขึ้นมา เพื่อมอบรางวัลให้แก่ภาพยนตร์ไทยที่มืคุณภาพ และเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ผลิต รางวัลที่ริเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกคือ #รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี หรือ #รางวัลตุ๊กตาทอง เป็นรางวัลที่มอบให้แก่บุคคลในวงการผลิตภาพยนตร์ไทย ที่มีผลงานดีเด่นที่สุดในสาขาต่างๆ ในแต่ละปี โดยหอการค้ากรุงเทพจัดพิธีมอบรางวัลนี้เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2500 รางวัลตุ๊กตาทองเกิดขึ้นจากการริเริ่มของ นายสงบ สวนสิริ หรือ "สันตศิริ" บรรณาธิการนิตยสาร ตุ๊กตาทอง มีแนวคิดที่จะจัดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2496 แต่แล้วก็ไม่ได้จัด ซึ่งมีการจัดขึ้นเป็นครั้งแรก ที่เวทีลีลาศ ลุมพินีสถาน สวนลุมพินี เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2500 จัดโดย หอการค้ากรุงเทพ นักแสดงนำยอดเยี่ยม จะได้รับรางวัล ละคอนรำ เป็นตุ๊กตา รูปนางละคอนรำ อันเป็นที่มาของการเรียกชื่อรางวัลนี้ว่า รางวัลตุ๊กตาทอง ส่วนรางวัลอื่น จะได้รับ โล่สำเภาทอง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของหอการค้าไทย ซึ่งเป็นผู้จัดงาน

ต่อมา มีการออกแบบรางวัลขึ้นใหม่ เป็นรูป พระสุรัสวดี ซึ่งเป็นเทพีแห่งความรู้ และภาษา ของอินเดีย เป็นผู้อุปถัมภ์ การศิลปะ การดนตรี และการศึกษา ออกแบบโดยนายจิตร บัวบุศย์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนเพาะช่าง โดยความเห็นชอบของนายธนิต อยู่โพธิ์ อธิบดีกรมศิลปากร จึงเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น รางวัลพระสุรัสวดี แต่สื่อมวลชนและประชาชนยังคงนิยมเรียกว่ารางวัลตุ๊กตาทอง พิธีมอบรางวัลตุ๊กตาทอง จัดต่อเนื่องทุกปีตั้งแต่ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2500 จนถึงครั้งที่ 8 พ.ศ. 2509 ก็ได้หยุดการจัดงานเป็นเวลา 9 ปี และได้รื้อฟื้นขึ้นใหม่ ในปี พ.ศ. 2517 โดย สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน และ พระราชทานรางวัล ในงานประกาศผลรางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 7 ประจำปี พ.ศ. 2507 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2508 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ครั้งที่ 8 ประจำปี พ.ศ. 2508 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 ณ เวทีลีลาศ สวนอัมพร ยังความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ

ที่ทรงมีต่อผู้จัดงาน และผู้รับพระราชทานรางวัล เป็นอย่างสูง เมื่อสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทยรื้อฟื้นพิธีมอบรางวัลขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2517 จึงใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ตราบจนปัจจุบัน

#รางวัลสุพรรณหงส์ #รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ

ต่อมามีการจัดมอบ รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ หรือ รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ เป็นรางวัลที่มอบให้แก่บุคคลในวงการผลิตภาพยนตร์ไทย ที่มีผลงานดีเด่นที่สุดในสาขาต่างๆ ในแต่ละปี โดยได้จัดให้มีพิธีมอบรางวัลนี้เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2535 ประจำปี 2534 จัดโดยสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ หลังจากสมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ไทยลดถอยบทบาทการนำลง บุคลากรในวงการภาพยนตร์ไทยได้รวมตัวกันจัดตั้งองค์กรขึ้นใหม่ ให้เป็นองค์กรหลักที่สมาชิกเป็นตัวแทนขององค์กรย่อยและ ภาคส่วนต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ครบถ้วนยิ่งขึ้น โดยใช้ชื่อ สมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ (The Federation of National Film Associations of Thailand) โดย ไพจิตร ศุภวารี เป็นนายกสมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติคนแรก ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2534-2537 องค์กรนำของวงการภาพยนตร์ไทยว่างเว้นไม่ได้จัดการประกวดและมอบรางวัลสำหรับภาพยนตร์ไทยอยู่ประมาณ 3 ปี จึงได้เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง โดยสมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ ร่วมกับ คณะกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย (หน่วยงานในสำนักนายกรัฐมนตรี) และกรมประชาสัมพันธ์ ตามนโยบายรัฐบาลที่ได้ให้การสนับสนุนวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยจัดประกวด รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ ขึ้น

ทั้งนี้ไม่ถือเป็นรางวัลต่อเนื่อง รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ของสมาคมผู้อำนวยการสร้างแต่เป็นการเริ่มต้น จัดทำตัวรางวัลเป็นสัญลักษณ์ "ทางช้างเผือกสู่ดวงดาว" ซึ่งหมายถึง บุคคลที่สร้างผลงานภาพยนตร์ไทยยอดเยี่ยมและชนะเลิศในแต่ละประเภทรางวัล จนเป็นดาวดวงเด่นของปี ในปี พ.ศ. 2556 สมาพันธ์ ได้เปลี่ยนวิธีการตัดสินภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัล โดยใช้คณะกรรมการตัดสิน 15 ท่าน ร่วมกับการลงคะแนนจากบุคคลในวงการภาพยนตร์ประมาณ 1,500 คน ในกลุ่มหลังจะแบ่งการลงคะแนนตามองค์ประกอบภาพยนตร์ในด้านต่างๆ โดยสามารถลงคะแนนผ่านทางเว็บไซต์ของสมาพันธ์ฯ หรือทางไปรษณีย์ โดยสัดส่วนคะแนนของทั้งสองกลุ่มจะอยู่ที่ 50:50 และล่าสุดในปี2566ได้ปรับเปลี่ยนอีกครั้ง จนเกิดกระแสต่อต้าน จนต้องยอมเปลี่ยน และสถานการณ์บานปลายไปจนถึงคนในวงการภาพยนตร์เรียกร้องให้ยุบสมาพันธ์และเปลี่ยนใหม่

นอกจากนั้นยังมีการจัดงานมอบรางวัลให้กับบุคลากรในแวดวงหนังไทยอีกมากมายทั้ง #รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง #รางวัลสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ และอื่นๆ อีกหลายรางวัล

ปัจจุบันประเทศไทยมีภาพยนตร์ที่มุ่งสู่ตลาดโลก เช่น ภาพยนตร์เรื่อง ต้มยำกุ้ง ที่สามารถขึ้นไปอยู่บนตารางบ็อกซ์ออฟฟิสในประเทศสหรัฐอเมริกา และยังมีภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องที่เป็นที่ยอมรับในเทศกาลภาพยนตร์ ภาพยนตร์เรื่อง ลุงบุญมีระลึกชาติ กำกับโดยอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ได้รับรางวัลปาล์มทองคำ จากงานเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ครั้งที่ 63 นับเป็นภาพยนตร์จากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เรื่องแรกที่ได้รับรางวัลนี้

ปัจจุบันวงการหนังไทยเติบโตเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างชื่อเสียงให้ประเทศชาติ เป็นงานที่สามารถสร้างรายได้ให้กับบุคลากรในอุตสาหกรรมได้เติบโตทั้งในระดับประเทศและในเวทีระดับโลก

#เรารักหนังไทย